เมนู

อรรถกถาปัจจนียานุโลมปัฏฐาน


บัดนี้ เพื่อจะแสดงปัฏฐานที่ชื่อว่า ปัจจนียานุโลม เพราะเป็นทั้ง
ปัจจนียะและอนุโลมแห่งธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจการปฏิเสธปัจจัยธรรม
ในธรรมทั้งหลาย มีกุศลธรรมเป็นต้น (แต่) ไม่ปฏิเสธ ความเป็นอกุศล
เป็นต้นแห่งปัจจยุปปันนธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า นกุสลํ
ธมฺมํ ปฏิจฺจ อกุสโล ธมฺโม อุปฺปชฺชติ เหตุปจฺจยา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่กุศลเป็นปัจจัย
ด้วยคำว่า นกุสลํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ ทรงอนุญาตการเกิดขึ้นแห่งอกุศล ด้วย
คำว่า อกุสโล ธมฺโม อุปฺปชฺชติ จริงอยู่ ที่ชื่อว่า นกุสลํ ธรรมที่ไม่ใช่
กุศล ก็ได้แก่อกุศลหรืออัพยากตะนั่นเอง. และ กุศล ชื่อว่า ทำ นกุศล
คือ ธรรมที่ไม่ใช่กุศล นั้นให้เป็นสหชาตปัจจัยเกิดขึ้น ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแต่งคำวิสัชนาด้วยอำนาจอกุศลและอัพยากตะ. ในข้อ
นั้นผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนา อาศัย นกุศลธรรม อย่างนี้คือ ขันธ์ 3 และ
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยอกุศลขันธ์หนึ่งเกิดขึ้น.

ส่วนปัญหานี้ว่า อัพยากตธรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ทรง
วิสัชนาไว้เสร็จแล้วว่า ขันธ์ 3 และรูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์หนึ่ง
อันเป็นวิปากาพยากตะและกิริยาพยากตะเกิดขึ้น. ในปัญหาทั้งหมด ปัญหาที่ยัง
ไม่ได้วิสัชนาย่อมมีวิสัชนาที่เหมาะสมแก่เนื้อความ และปัญหาที่มีวิสัชนาแล้ว
มีวิสัชนาอันมาแล้วในบาลีนั่นเอง ก็วิธีนับประเภทแห่งวาระ และนับปัจจัย

ในติกะและทุกะหนึ่ง ๆ ทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งนัยอันข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
ก็นัย 6 ในธัมมปัจจนียานุโลมปัฏฐาน อันท่านแสดงไว้แล้วด้วยคาถา
ซึ่งพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
นัย 6 ในปัจจนียานุโลม คือ ติก-
ปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด
ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน
และทุกทุกปัฏฐาน ลึกซึ่งนัก
ดังนี้.
เป็นอันข้าพเจ้าแสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ก็ในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงทราบ
ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน อันประดับด้วยนัย 24 โดยปริยายหนึ่งคือ ใน
ปัฏฐานหนึ่ง ๆ ว่าด้วยอำนาจแห่งปัจจัย มีอย่างละ 4 นัย มีอนุโลมนัยเป็นต้น
ด้วยประการฉะนี้.
อรรถกถาปัจจนียานุโลมปัฏฐาน จบ

ปริโยสานวรรณนา


อรรถกถาท้ายปกรณ์


ในปัฏฐาน 4 มีธัมมานุโลมปัฏฐานเป็นต้น มีนัย 96 คือ ในปัฏฐาน
หนึ่ง ๆ มีอย่างละ 4 นัย ด้วยประการฉะนี้ บรรดาปัฏฐานเหล่านั้นผู้ศึกษา
พึงทราบ มหาปกรณ์ที่ชื่อว่าสมันตปัฏฐาน อันประกอบด้วยนัย 24 นี้
ด้วยอำนาจแห่งนัยทั้งหลาย มีติกทุกปัฏฐาน เป็นต้นนั่นเอง ในปัฏฐานหนึ่ง
อย่างละ 6 นัย โดยไม่ต้องรวมเอานัยแห่งปัจจัยเข้าด้วย.
ส่วนอาจารย์บางพวกตั้งมาติกาแห่งอารมณ์ โดยนัยว่า กุสลารมฺมโณ
ธมฺโม อกุสลารมฺมโณ ธมฺโม
เป็นต้นแล้ว แสดงอารัมมณปัฏฐานโดยนัย
เป็นต้นว่า ธรรมที่มีกุศลเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่มีกุศลเป็นอารมณ์
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยดังนี้แล้ว ยกปัฏฐานชื่อว่า ผัสสปัฎฐาน ขึ้น
แสดงด้วยอำนาจแห่งผัสสะเป็นต้นอีก แต่ข้อนั้นไม่ปรากฏทั้งในบาลีและ
อรรถกถา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่วิจารณ์ไว้ในที่นี้ ก็ในอรรถกถานี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบว่าข้าพเจ้าอธิบายเฉพาะบาลีที่ยกขึ้นสู่สังคีติแล้วเท่านั้น.
ก็ด้วยกุศลเจตนามีประมาณเท่านี้
ของข้าพเจ้า หมู่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้
สร้างกุศลเป็นต้น ลุ่มหลงแล้วในปัจจยา
การใด ย่อมไม่ล่วงเลยสงสารอันแออัดไป
ด้วยความทุกข์เป็นอเนกประการ พระศาสดา